บทเรียนจากแม่คนหนึ่ง รายได้ 5 หมื่น แต่ก่อหนี้เกือบ 5 ล้านบาท
ความรักและความเป็นแม่ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดในสายตาผู้อื่น แต่ถูกต้องในหัวใจของแม่ แต่การเริ่มต้นใหม่ไม่เคยสายเกินไป หากเรายังมีลมหายใจ และความหวัง

งานและเงิน
ผู้เขียน : ฮีล
เผยแพร่ : 10 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.13 น.
ปรับปรุง : 12 กรกฎาคม 2568 เวลา 06.56 น.
พี่นิดไม่ใช่แค่แม่ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง แต่เธอคือเสาหลักของบ้านหลังเล็ก ๆ ในกรุงเทพฯ ที่กำลังถูกพายุเศรษฐกิจซัดกระทบอย่างแรง รายได้เดือนละเกือบห้าหมื่นบาท ฟังดูมากสำหรับบางคน แต่เมื่อหนี้รวมกันแล้วสี่ล้านเจ็ดแสนบาท พี่นิดก็รู้ดีว่า ชีวิตเธอกำลังจะล่มจม
เธอทำงานราชการมาเกือบยี่สิบปี มีลูกสองคนที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัย หนึ่งคนอยู่ในกรุงเทพฯ อีกคนใกล้จบแล้ว ค่าเทอม ค่าเช่าห้อง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายประจำของบ้าน ทำให้เงินเดือนแทบไม่พอหยอดลงเหวแห่งหนี้สินที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
“ฉันไม่กล้าโทรไปหาลูกเลย กลัวเขาเครียด... แต่ฉันก็กลัวว่าวันหนึ่งบ้านเราจะถูกยึด”
วันหนึ่ง โทรศัพท์จากธนาคารดังขึ้นอีกครั้ง เป็นการเตือนให้รีบชำระหนี้บ้านที่ค้างไว้ ถ้าไม่จ่าย จะยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด แล้วครอบครัวของเธอจะเหลืออะไร
พี่นิดนั่งคิดอยู่หลายคืน จนในที่สุด เธอตัดสินใจ
- โอนบ้านให้สามี เพื่อป้องกันการยึด
- กู้สหกรณ์ 4 ล้านบาท เพื่อปิดหนี้บ้านทั้งหมด
- และยอมรับว่า ไม่มีทรัพย์สินใดๆ เหลือในชื่อตัวเอง
ผลลัพธ์คือการผ่อนเดือนละ 5,000–6,000 บาท แทนที่จะเป็น 30,000 บาทที่เคยโดนหักไปทุกเดือน แต่ก็แลกมาด้วยการเสียบ้านไปจากชื่อของตนเอง
“ฉันไม่ได้อยากหนีหนี้นะ ฉันแค่อยากให้ลูกมีบ้านอยู่ ไม่ว่าฉันจะเหลืออะไรก็ตาม…”
ในโลกออนไลน์บางเสียงบอกว่า "พี่นิดคิดถูก" เพราะเธอยังอยากให้ลูกมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ไม่ต้องพลัดพรากไปจากบ้านที่เติบโตมา
แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่า "พี่นิดคิดผิด" เพราะการกู้หนี้ระยะสั้นเพื่อปิดหนี้ระยะยาว เป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินไม่แนะนำเลย ดอกเบี้ยสูง ผ่อนหนัก แถมไม่มีทรัพย์สินเหลือให้เป็นหลักประกันในอนาคต
“ทำไมคนรวยทำได้ แต่คนธรรมดาอย่างเราทำถึงถูกว่า”
คำถามนี้ลอยอยู่ในใจของพี่นิดเสมอ ระหว่างที่เธอกำลังแบกรับภาระใหม่ ทั้งค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก และหนี้ที่ยังคงวนเวียนเหมือนงูไล่กินหางตัวเอง ตายไปแล้วเกิดใหม่ ก็กินหางตัวเองจนตัวตายไม่รู้จะจบสิ้นเมื่อไหร่
แต่พี่นิดไม่ยอมแพ้ เธอเริ่มปรับโครงสร้างหนี้ใหม่
แบ่งหนี้บัตรเครดิตและนอนแบงก์ออกเป็น 3 กอง
ขอปรับแผนผ่อนกับคลินิกแก้หนี้
ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทั้งหมด
และเริ่มเขียนบันทึกการเงินเพื่อควบคุมรายรับ-รายจ่าย ทีละน้อย เธอกลับมามีลมหายใจอีกครั้ง
“ตอนนี้ ฉันผ่อนเดือนละ 5,000–6,000 บาท ตามที่วางแผนไว้… ไม่ง่ายเลย แต่ก็รู้ว่า ยังมีหวัง”
เวลาผ่านไป ลูกคนโตเรียนจบแล้ว เริ่มทำงาน ลูกคนเล็กก็ใกล้จบเช่นกัน บ้านยังคงอยู่ที่เดิม ไม่ถูกยึด ไม่ถูกขายทอดตลาด
พี่นิดยิ้มได้อีกครั้ง แม้จะยังต้องผ่อนหนี้อยู่ แต่เธอรู้ว่า ทุกอย่างมีทางออก หากเราไม่ยอมแพ้
“ไม่มีใครสมบูรณ์แบบในการบริหารเงิน แต่หากเรายังรักครอบครัว และพยายามอย่างเต็มที่… ชีวิตก็ยังมีความหวัง”
ข้อคิดที่ผมอยากฝากไว้ให้กับคุณผู้อ่านจากเรื่องนี้
- การบริหารหนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินความสามารถ หากเรารู้จักขอความช่วยเหลือ
- ความรักและความเป็นแม่ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดในสายตาผู้อื่น แต่ถูกต้องในหัวใจของแม่
- “กลยุทธ์ทางการเงิน” อาจดูดีเมื่อคนรวยทำ แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่คนธรรมดาอย่างเราทำ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้
- การเริ่มต้นใหม่ไม่เคยสายเกินไป หากเรายังมีลมหายใจ และความหวัง
เรื่องนี้ผมแต่งเติมเสริมขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย แต่ก็มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริงจากโพสต์ที่ปรากฏบนเพจเฟสบุค 'แก้หนี้มาหาพี่น้อย'
ลิงค์นี้ปลอดภัยเราตรวจสอบแล้ว
คลังแสงสำหรับผู้ที่กำลังประสบภัยชีวิตด้านการเงินหนี้สิน สามารถขอรับคำปรึกษาจากพี่น้อยได้ มีโพสต์ที่พี่น้อยเล่าประวัติของพี่เขาเอง คลิกได้จากลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
ลิงค์นี้ปลอดภัยเราตรวจสอบแล้ว
ปรึกษาฟรี ‼️ได้ทุกยอดหนี้ “แต่ไม่ส่วนตัว” ทักไลน์ @darkdebt
อยากส่วนตัว มีราคาต้องจ่าย
หนี้ 1-5 ล้าน คิด 25,000
หนี้ 5-10 ล้าน คิด 50,000
หนี้ 10-25ล้าน คิด 100,000
หนี้ 25-50ล้าน คิด 250,000
หนี้ 50 - 75ล้าน คิด 500,000
หนี้ 75-100ล้าน คิด 750,000
หนี้ 100 ล้าน ขึันไปคิด 1 ล้าน
แน่นอนว่า พี่น้อยก็ต้องกิน ต้องใช้และมีครอบครัวที่ต้องดูแล การให้คำปรึกษาพื้นฐานทั่วไป ผมเชื่อว่าพี่น้อยยินดีให้คุณฟรี ๆ แต่ถ้าหากต้องการเวลาจากพี่น้อย (ซึ่งเวลาของเราทุกคนก็มีจำกัด หาซื้อคืนก็ไม่ได้ด้วย) ก็ต้องจ่ายเป็นค่าวิชาชีพและองค์ความรู้ให้พี่น้อยด้วยนะครับ จะได้มีแรง มีกำลังในการช่วยเหลือผู้คนได้อีกมาก
แต่อย่างไรก็ตาม , คุณผู้อ่านต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วยตัวเองนะครับ ผมทำได้แค่ช่วยคัดกรองและนำเสนอให้เป็นทางเลือก พี่น้อยจะเหมาะสมกับปัญหาคุณหรือไม่ คุณเท่านั้นเป็นผู้ตัดสินใจครับ